การประเมินพัฒนาการ
โรงเรียนอนุบาลดรุณาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการประเมินพัฒนาการของเด็ก ปฐมวัย จึงมีการออกแบบการประเมินพัฒนาของเด็กปฐมวัย ดังนี้
๑. การสังเกตและการบันทึกการสังเกต มี ๓ แบบคือ
๑.๑ แบบบันทึกพฤติกรรม |
โดยผู้สอนจะเป็นผู้ออกแบบบันทึกเหตุการณ์เฉพาะอย่าง โดยบรรยายพฤติกรรมเด็ก ผู้สอนต้องบันทึก วัน เดือน ปี เกิด ของเด็ก และ วัน เดือน ปี ที่ทำการบันทึกในแต่ละครั้ง |
๑.๒ แบบบันทึกรายวัน | โดยผู้สอนจะบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนทุกวัน ซึ่งจะเน้นเฉพาะเด็กรายที่ต้องการศึกษา |
๑.๓ แบบสำรวจรายการ | ผู้สอนจะออกแบบและวิเคราะห์เด็กแต่ละคนได้ค่อนข้างละเอียด ซึ่งทั้ง ๓ แบบ ผู้สอนแต่ละคน สามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนในการประเมินในแต่ละ ด้าน |
๒. การสนทนา เพื่อประเมินความสามารถในการแสดงความคิดเห็น และพัฒนาการทางการใช้ภาษาของเด็กและบันทึกผลการสนทนาลงในแบบบันทึกพฤติกรรม หรือ บันทึกรายวัน
๓. การสัมภาษณ์ ผู้สอนจะต้องถามคำถามเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและตอบอย่างอิสระ ซึ่งผู้สอนสามารถประเมินความสามารถทางสติปัญญาของเด็ก และค้นพบศักยภาพของเด็กได้โดยการบันทึกข้อมูล ลงในแบบสัมภาษณ์
๔. การรวบรวมผลงานที่แสดงออกถึงความก้าวหน้า แต่ละด้านของเด็กเป็นรายบุคคล เช่น ผลงานการขีดเขียน การอ่าน เก็บลงในแฟ้มผลงานของเด็ก
๕. การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก ได้แก่ การวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก เป็นต้น แล้วนำผลมาวิเคราะห์ว่าตรงตามเกณฑ์หรือไม่ ซึ่งผลการประเมินทั้งหมดจะถูกรวบรวมเข้าสู่ฝ่่ายบริหารเพื่อหาแนวทางในการ พัฒนาหลักสูตร และพัฒนาคุณภาพของเด็กให้สูงขึ้น และโรงเรียนได้จัดส่งรายงานผลการพัฒนาของเด็กไปยังผู้ปกครองด้วย เพื่อให้ผู้ปกครองได้เล็งเห็นปัญหาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพมากขึ้น